หน่วยที่5 การออกแบบการเรียนการสอน
การออกแบบระบบการเรียนการสอน
(Instructional
System design)
การออกแบบ หมายถึง
การถ่ายทอดรูปแบบจากความคิดออกมาเป็นผลงาน ที่ผู้อื่น สามารถมองเห็น รับรู้
หรือสัมผัสได้ เพื่อให้มีความเข้าใจในผลงานร่วมกัน
การออกแบบระบบการเรียนการสอน
(Instructional System design) มีชื่อเรียกหลาย เช่น
การออกแบบการเรียนการสอน การออกแบบและพัฒนาการสอน เป็นต้น
การออกแบบระบบการเรียนการสอน
(Instructional
System design)
การออกแบบ หมายถึง
การถ่ายทอดรูปแบบจากความคิดออกมาเป็นผลงาน ที่ผู้อื่น สามารถมองเห็น รับรู้
หรือสัมผัสได้ เพื่อให้มีความเข้าใจในผลงานร่วมกัน
การออกแบบระบบการเรียนการสอน (Instructional System
design) มีชื่อเรียกหลาย เช่น การออกแบบการเรียนการสอน
การออกแบบและพัฒนาการสอน เป็นต้น
· ทฤษฎีการออกแบบระบบการเรียนการสอน
มีดังนี้
1)
การวิเคราะห์ (Analysis)
ได้แก่
- การวิเคราะห์ความจำเป็น
-
การวิเคราะห์งานหรือการเรียนการสอน
- การวิเคราะห์ผู้เรียน
- การวิเคราะห์วัตถุประสงค์
2)
การออกแบบ (Design)
เน้นการพัฒนาผู้เรียนให้ครบทั้ง 3 ด้าน คือ
-ด้านสติปัญญา (Cognitive)
-ด้านทักษะ (Psychomotor)
-ด้านลักษณะนิสัย (Affective)
3)
การพัฒนา (Development)
ได้แก่
- การพัฒนาเนื้อหา
- การพัฒนาสื่อ
- การประเมินในขณะพัฒนา
4) การนำไปใช้ (Implementation) คือ
ขั้นตอนการนำแผนการสอนที่ได้วิเคราะห์ ออกแบบ และพัฒนาไว้ไปใช้สอนจริง
5) การวัดและประเมินผล (Evaluation) ขั้นตอนการวัดและประเมินผลเพื่อเป็นการตัดสินผู้เรียน
เช่น การตัดเกรดเฉลี่ย
· ลักษณะการออกแบบและวางระบบงานที่ดี
1.การบรรลุวัตถุประสงค์หรือความต้องการของผู้ใช้
2. การใช้ทรัพยากรอย่างเหมาะสม
3. การหลีกเลี่ยงความซับซ้อน
4. ระบบงานมีมาตรฐานเดียวกัน
5. ความถูกต้องและเชื่อถือได้ของระบบ
6. ความยืดหยุ่นของระบบ
7. ระบบงานได้ถึงเอาข้อดีจากอดีตมารวมไว้
8. ระบบงานให้ผลลัพธ์ที่เข้าใจได้ต่อผู้ใช้ระบบ
การออกแบบการสอน การออกแบบการสอนเป็นการนำหลักการทางวิทยาศาสตร์มาใช้อย่างเป็นระบบเพื่อให้การออกแบบหรือการวางแผนการสอนมีประสิทธิภาพสูงสุด(Instructional
Design)
· การออกแบบการเรียนรู้
เป็นการออกแบบที่มีเป้าหมายความเข้าใจในการเรียนรู้
ผู้ออกแบบหรือผู้สอนจึงต้องคิดอย่างนักประเมินผล ตระหนักถึงหลักฐานของความเข้าใจ
ที่ชัดเจนและลึกซึ้ง
· ประเภทของการออกแบบ
1.
การออกแบบทางสถาปัตยกรรม (Architecture
Design) เป็นการออกแบบเพื่อ การก่อสร้าง สิ่งก่อสร้างต่าง ๆ
นักออกแบบสาขานี้ เรียกว่า สถาปนิก (Architect) ซึ่ง
โดยทั่วไปจะต้องทำงานร่วมกับ วิศวกรและมัณฑนากร โดยสถาปนิก รับผิดชอบเกี่ยว
กับประโยชน์ใช้สอยและความงามของสิ่งก่อสร้าง
งานทางสถาปัยตกรรมได้แก่
-
สถาปัตยกรรมทั่วไป เป็นการออกแบบสิ่งก่อสร้างทั่วไป เช่น อาคาร บ้านเรือน ร้านค้า
โบสถ์ วิหาร ฯลฯ
-
สถาปัตยกรรมโครงสร้าง เป็นการออกแบบเฉพาะโครงสร้างหลักของอาคาร
-
สถาปัตยกรรมภายใน เป็นการออกแบบที่ต่อเนื่องจากงานโครงสร้าง
ที่เป็นส่วนประกอบของอาคาร
-
งานออกแบบภูมิทัศน์ เป็นการออกแบบที่มีบริเวณกว้างขวาง
เป็นการจัดบริเวณพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อให้เหมาะสมกับประโยชน์ใช้สอยและความสวยงาม
-
งานออกแบบผังเมือง เป็นการออกแบบที่มีขนาดใหญ่ และมีองค์ประกอบซับซ้อน ซึ่งประกอบ
ไปด้วยกลุ่มอาคารจำนวนมาก ระบบภูมิทัศน์ ระบบสาธารณูปโภค ฯลฯ
2.
การออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product
Design) เป็นการออกแบบเพื่อการผลิต ผลิตภัณฑ์ ชนิดต่าง
ๆงานออกแบบสาขานี้ มีขอบเขตกว้างขวางมากที่สุด และแบ่งออกได้มากมาย หลาย ๆ ลักษณะ
นักออกแบบรับผิดชอบเกี่ยวกับประโยชน์ใช้สอยและความสวยงามของ
ผลิตภัณฑ์
งานออกแบบประเภทนี้ได้แก่
-
งานออกแบบเฟอร์นิเจอร์
-
งานออกแบบครุภัณฑ์
- งานออกแบบเครื่องสุขภัณฑ์
-
งานออกแบบเครื่องใช้สอยต่างๆ
-
งานออกแบบเครื่องประดับ อัญมณี
-
งานออกแบบเครื่องแต่งกาย
-
งานออกแบบภาชนะบรรจุผลิตภัณฑ์
-
งานออกแบบผลิตเครื่องมือต่าง ๆ ฯลฯ
3.
การออกแบบทางวิศวกรรม (Engineering Design) เป็นการออกแบบเพื่อการผลิต
ผลิตภัณฑ์ชนิดต่าง ๆ เช่นเดียวกับการออกแบบผลิตภัณฑ์ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกัน
ต้องใช้ ความรู้ความสามารถและเทคโนโลยีในการผลิตสูง ผู้ออกแบบคือ วิศวกร
ซึ่งจะรับผิดชอบ ในเรื่องของประโยชน์ใช้สอย ความปลอดภัยและ กรรมวิธีในการผลิต
บางอย่างต้องทำงาน ร่วมกันกับนักออกแบบสาขาต่าง ๆ ด้วย งานอกแบบประเภทนี้ได้แก่
-
งานออกแบบเครื่องใช้ไฟฟ้า
-
งานออกแบบเครื่องยนต์
-
งานออกแบบเครื่องจักรกล
-
งานออกแบบเครื่องมือสื่อสาร
-
งานออกแบบอุปกณ์อิเลคทรอนิคส์ต่าง ๆ ฯลฯ
4.
การออกแบบตกแต่ง (Decorative
Design) เป็นการออกแบบเพื่อการตกแต่งสิ่งต่าง
ๆให้สวยงามและเหมาะสมกับประโยชน์ใช้สอยมากขึ้น นักออกแบบเรียนว่า มัณฑนากร (Decorator)
ซึ่งมักทำงานร่วมกับสถาปนิก งานออกแบบประเภทนี้ได้แก่
-
งานตกแต่งภายใน (Interior
Design)
-
งานตกแต่งภายนอก (Exterior
Design)
-
งานจัดสวนและบริเวณ ( Landscape
Design)
-
งานตกแต่งมุมแสดงสินค้า (Display)
-
การจัดนิทรรศการ (Exhibition)
-
การจัดบอร์ด
-
การตกแต่งบนผิวหน้าของสิ่งต่าง ๆ เป็นต้น ฯลฯ
5.
การออกแบบสิ่งพิมพ์ (Graphic
Design) เป็นการออกแบบเพื่อทางผลิตงานสิ่งพิมพ์ ชนิดต่าง ๆ ได้แก่
หนังสือ หนังสือพิมพ์ โปสเตอร์ นามบัตร บัตรต่าง ๆ งานพิมพ์ลวดลายผ้า
งานพิมพ์ภาพลงบนสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ งานออกแบบรูปสัญลักษณ์ เครื่องหมายการค้า
ฯลฯ
ปัญหาในระบบการเรียนการสอน
เป้าหมายหลักของครูหรือนักฝึกอบรมในการสอน
คือการช่วยให้ผู้เขียนหรือผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้เรียนรู้
และในการช่วยให้เกิดการเรียนรู้นี้มีปัญหาหลัก ๆ
อยู่หลายประการที่ผู้ออกแบบการเรียนการสอนจะต้องตระหนักและพยายามหลีกเลี่ยง
ปัญหาดังกล่าวคือ
1. ปัญหาด้านทิศทาง (Direction)
2. ปัญหาด้านการวัดผล (Evaluation)
3. ปัญหาด้านเนื้อหาและการลำดับเนื้อหา (Content and Sequence)
5. ปัญหาข้อจำกัดต่าง ๆ (Constraint)
· ปัญหาด้านทิศทาง
ปัญหาด้านทิศทางของผู้เรียนก็คือ
ผู้เรียนไม่ทราบว่าจะเรียนไปเพื่ออะไร ไม่รู้ว่าจะต้องเรียนอะไร
ต้องสนใจจุดไหน
สรุปแล้วพูดไว้ว่าเป็นปัญหาด้านจุดมุ่งหมาย
· ปัญหาด้านการวัดผล
ปัญหาการวัดผลนี้จะเกิดขึ้นกับทั้งผู้สอนและผู้เรียน
ผู้สอนจะมีปัญหา เช่น จะรู้ได้อย่างไรว่าผู้เรียนของตนเกิดการเรียนรู้หรือไม่
จะรู้ได้อย่างไรว่าวิธีการที่ตนใช้อยู่นั้นใช้ได้ผลดี
ถ้าจะปรับปรุงเนื้อหาที่สอนจะปรับปรุงตรงไหน จะให้คะแนนอย่างยุติธรรมได้อย่างไรปัญหาของผู้เรียนเกี่ยวกับการวัดผลอาจเป็น
ฉันเรียนรู้อะไรบ้างจากสิ่งนี้ ข้อสอบยากเกินไป ข้อสอบกำกวม อื่น ๆ
· ปัญหาด้านเนื้อหา
และการลำดับเนื้อหา
ปัญหานี้เกิดขึ้นกับครูและผู้เรียนเช่นเดี่ยวกัน
ในส่วนของครูอาจจะสอนเนื้อหาที่ไม่ต่อเนื่องกัน เนื้อหายากเกินไป เนื้อหาไม่ตรงกับจุดมุ่งหมาย
เนื้อหาไม่สัมพันธ์กัน และอื่น ๆ อีกมากมาย
ในส่วนของผู้เรียนก็จะเกิดปัญหาเช่นเดี่ยวกับที่กล่าวข้างต้นอันเป็นผลมาจากครู
อาจเป็นการสอนหรือวิธีการสอนของครูทำให้ผู้เรียนเบื่อหน่าย ไม่อยากเข้าห้องเรียน
มีทัศนคติที่ไม่ดีต่อการเรียนสิ่งนั้น ๆ
หรือปัญหาการสอนที่ไม่สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายที่ตั้งเอาไว้ เช่น
ตั้งเป้าหมายไว้ว่าให้ผู้เรียนสามารถใช้กล้องถ่ายวิดีโอได้อย่างชำนาญ
แต่วิธีสอนกลับบรรยายให้ฟังเฉย ๆ และผู้เรียนไม่มีสิทธิจับกล้องเลย เป็นต้น
· ปัญหาข้อจำจัดต่าง
ๆ
ในการสอนหรือการฝึกอบรมนั้นต้องใช้แหล่งทรัพยากร
3 ลักษณะ คือ บุคลากร ครูผู้สอน และสถาบันต่าง ๆ
บุคลาการที่ว่านี้อาจจะเป็นวิทยากร ผู้ช่วยเหลือต่าง ๆ เช่น พนักงานพิมพ์
ผู้ควบคุมเครื่องไม้เครื่องมือ หรืออื่น ๆสถาบันต่าง ๆ หมายถึง
แหล่งที่เป็นความรู้ แหล่งที่จะให้ความร่วมมือสนับสนุนต่าง ๆ อาจเป็นห้องสมุด
หน่วยงานต่าง ๆ เป็นต้น
· องค์ประกกอบของการออกแบบการเรียนการสอน
ดังได้กล่าวข้างต้นว่า
การออกแบบการเรียนการสอนให้หลักการแนวทางของระบบ
ดังนั้นในการออกแบบการเรียนการสอนจึงประกอบด้วยองค์ประกอบต่าง ๆ
ที่สัมพันธ์กันอย่างแยกไม่ได้ และในกระบวนการออกแบบการเรียนการสอนก็จะมีกลไกในการปรับปรุงแก้ไขตัวเอง
อันได้แก่ กระบวนการใช้ข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) จากการประเมินผลที่เรียกว่า
การประเมินผลเพื่อการปรับปรุง (formative evaluation)
เนื่องจากมีรูปแบบ
(Model)
สำหรับนำไปใช้ในการออกแบบการเรียนการสอนอยู่มากมายจึงมีความหลากหลายในองค์ประกอบในรูปแบบนั้น
ๆ แต่อย่างไรก็ตาม รูปแบบการเรียนการสอนใด ๆ ก็จะยึด
· แนวทางของรูปแบบดั้งเดิม
(generic
model)
รูปแบบดั้งเดิม
(Generic
model)
1. การวิเคราะห์ (Analysis)
2. การออกแบบ (Design)
3. การพัฒนา (Development)
4. การนำไปใช้ (Implementation)
5. การประเมินผล (Evaluation)
จากรูปแบบดังเดิม
(Generic
model) นี้จะมีผู้รู้ต่าง ๆ นำไปสังเคราะห์เป็นรูปแบบต่าง ๆ มากมาย
ตามความเชื่อความต้องการของตน
· การวิเคราะห์ระบบ
(System
Analysis)
การวิเคราะห์ระบบ คือ กระบวนการศึกษาขอบข่าย (Network) ของปฏิสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่าง ๆ ในระบบ
เพื่อจะเสนอแนวทางในการดำเนินการเพื่อปรับปรุงการทำงานของระบบนั้น ๆ (Semprevivo,
1982)
ในการออกแบบการเรียนการสอนไม่ว่าจะเป็นรูปแบบการสอนของใครก็ตาม
จะมีกลไกหรือมี ข้อมูลเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ระบบอยู่แล้ว ข้อมูลดังกล่าวคือ
ข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) ต่าง ๆ
การที่ระบบการสอนมีองค์ประกอบให้เห็นอย่างชัดเจนและแสดงความสัมพันธ์ขององค์ประกอบ
ต่าง ๆ อย่างชัดเจน จะช่วยให้ง่ายต่อการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่าง ๆ
ว่าปัญหาระบบเกิดจากอะไร
การดำเนินการวิเคราะห์ระบบในรูปแบบ (Model) การสอนต่าง
ๆ นั้นทำได้ง่ายเพราะมีผู้จัดสร้างกลไกและจัดหาข้อมูลเตรียมไว้ให้แล้ว
แต่ถ้าจะดำเนินการวิเคราะห์ระบบอื่นใดที่นอกเหนือไปจากนี้แล้วกระบวนการคิดวิเคราะห์ก็จะต้องมีรายละเอียดและกระบวนการเพิ่มมากขึ้น
ในที่นี้จะขอเสนอแนวทางในการวิเคราะห์ระบบสำหรับระบบโดยทั่ว ๆ
ไปที่ไม่ใช่ระบบการเรียนการสอน ในการวิเคราะห์ระบบจะประกอบด้วยกิจกรรมต่าง ๆ
เป็นวงจรชีวิต (Life cycle) ดังต่อไปนี้ คือ
1. การกำหนดปัญหา (Problem definition)
2. การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล (Data collection and analysis)
3. การวิเคราะห์ทางเลือกของระบบ (Analysis of system alternatives)
4. ศึกษาความเป็นไปได้ของทางเลือก (Determination 0f feasibility)
5. การพัฒนาแนวคิดเพื่อเสนอขอความคิดเห็น (Development
0f the systems proposal)
6. การพัฒนาและทดลองใช้ต้นแบบ (Pilot of prototype systems development)
7. การออกแบบระบบ (System design)
8. การพัฒนาโปรแกรม (Program development)
.9. การนำระบบใหม่เข้าไปใช้ (System implementation)
10. การตรวจสอบและการประเมินระบบ (Systems implementation)
กิจกรรมทั้ง 10 นี้
ปกติแล้วจะไม่สามารถดำเนินการในลักษณะที่แยกออกจากกันอย่างเด็ดขาดได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น